วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

My Mistake's Oscar Tuazon




Oscar Tuazon, My Mistake, 2010. Photo: Steve White
ศิลปะของออสการ์ ทัวซอน จดจำง่าย ทว่า ก็ไม่สามารถคาดคำนึงไว้ก่อนได้ ผลงานรูปปั้นของเขาเป็นงานสถาปัตย์พร้อมเพรียง ใช้วัสดุด้วยแผ่นของชั้นคอนกรีตดูดิบๆ เหล็กสตีลและชิ้นส่วนของไม้ที่ดูแล้วไม่น่าปลอดภัย ไม้ไพน์ทำมาจากแก่นของต้นไม้เชื่อมด้วยโลหะหนักๆ ผลงานดูเหมือนกรอบไม้ขนาดใหญ่ปีนเชื่อมกันเรื่อยๆ ไม้ไพน์ก็ใหญ่ขนาดเท่าต้นไม้ ดูเหมือนว่า จะใหญ่เกินไปสำหรับแกลลอรี่ ผลงานชื่อว่า "My Mistake" ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ London's ICA


ทัวซอน เกิดในปี 1975 เติบโตที่ชานเมืองรอบนอกซีแอตเทิล ทันดูวงร็อกอย่าง Nirvana และ Mudhoney จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ ด้วยโปรแกรมการเรียนด้วยตัวเองที่ New York's Whitney Museum ในปี 2003 ทำงานให้กับผู้ที่มีความคิดทางการเมือง อย่าง Vito Acconsi--ศิลปินเพอร์ฟอร์แมนช์และสถาปนิกผู้หันเข็มทิศมาเป็นกวี แล้วจึงย้ายไปปารีสในปี 2007 ทัวซอนตั้งแกลลอรีกับกลุ่มเพื่อนศิลปินและเพื่อนภัณฑารักษ์ สามปีให้หลัง ก็เห็นผลงาน ติดตั้งด้วยไม้และชั้นคอนกรีตซึ่งข้ามน้ำข้ามทะเลมาจัดนิทรรศการที่ยุโรป ชิ้นงานนี้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เขาเองเรียกว่า "สถาปัตยกรรมเถื่อนสะเทือนกฎหมาย" เป็นการผสมผสานระหว่างงาน DIY และความคิดอิสระ ศาสตร์แห่งการเอาตัวรอดแบบฮิปปี้ พึงตัดสินใจให้ชิ้นงานออกจากกรอบ


แปลและคัดย่อจากบทความ Artist of the week เขียนโดย Skye Sherwin

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความลับของ JD Salinger


นวนิยายวัยรุ่นเล่มที่จัดอยู่ในท็อป ลิสต์ ติดหิ้งหนังสือนักอ่าน เล่มสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งของโลก และยังเป็นต้นแบบนวนิยายวัยรุ่นปัจจุบันอีกหลายเล่ม โดยผู้เล่าเรื่องเป็นเสียงเด็กชายวัยคะนอง คงหนีไม่พ้น "The Catcher in the Rye" เขียนโดย JD Salinger ในเมืองไทยแปลเป็นภาษาไทยโดย ปราบดา หยุ่น ให้ชื่อเรื่องว่า "จะเป็นผู้คอยรับไว้ไม่ให้ใครร่วงหล่น" สำนักพิมพ์ ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง


เรื่องที่นำมาเล่าหลังจากประโยคนี้ บีบย่อและถอดความมาจากบทความของนักวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือ Robert Mccrum ในคอลัมน์ "Robert Mccrum on books" ใน guardian.co.uk. โรเบิร์ต เมคครัม สันนิษฐานว่า ภาคส่วนสำคัญของ เดอะ แคชเช่อร์ ดิน ดิ ราย ตามที่ Mark Twain (นามปากกาของนักเขียนที่มีชื่อจริงว่า Samuel Langhorne Clemens) กล่าวไว้ พบพรหมแดนใหม่ที่พยายามอย่างมากที่จัดการกับปัญหาหนักยาก ซึ่งเป็นชีวิตของเด็กวัยรุ่นอเมริกันในเมือง ผู้ต่อต้านชีวิตที่ดีตามขนบในช่วงหลังสงคราม


เสียงของ Holden Caufield (ตัวละครหลักของเรื่อง) มาจากซาเลนเจอร์ตัวจริง เขาคือผู้ชายผู้ดูเหมือนไม่เคยหลุดจากหัวจิตหัวใจความเป็นวัยรุ่น นักวิจารณ์หลายต่อหลายคนวิเคราะห์ข้อนี้ไว้เช่นนั้น ทว่า โรเบิร์ต เมคครัม คิดว่า เรื่องราวที่ซาลินเจอร์นำเสนอนั้น อิทธิพลของเรื่องมาจากสไตล์การพูดคุย การชักจูงให้ผู้อื่นสนใจในประเด็นที่ผู้เล่าต้องการนำเสนอ--สไตล์ส่วนตัวของซาลินเจอร์


เมคครัมให้ความสนใจ พุ่งไปในช่วงเวลาการประกอบอาชีพในช่วงสงครามของซาลินเจอร์ รู้กันทั่วว่า เขาเป็นทหารจีไอในปี 1942 ทหารราบ ฐานทัพที่ชายหาดยูทาห์ในวันดีเดย์ เห็นการต่อสู้ในสงคราม "Battle of the Bulge" และเป็นหนึ่งในกลุ่มคนแรกที่ปล่อยนักโทษแคมป์นาซีจำนวนมาก ในทางตรงกันข้าม เขาได้รับประสบการณ์จริงจากสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเยอะ


สิ่งที่ซ่อนในความทรงจำแห่งการเป็นทหาร สงครามแท้จริงไม่เคยเข้าไปอยู่ในหนังสือ ทว่า...มันก็โผล่แพลมให้เห็นพอแก้กระหาย ในหน้าที่ 126 ฉบับ New Penquin Edition โฮล์เดนเริ่มพูดเกี่ยวกับพี่ชาย (ดีบี) ผู้ซึ่งเคย...ว่า "ในกองทัพเหี้ยห่าสี่ปี เขาเคยอยู่ในสงครามเช่นกัน ทั้งวันดีเดย์และทั้งนั้นนั่นแหละ ทว่าผมคิดจริงๆ ว่า ผมเกลียดความย่ำแย่ของกองทัพมากกว่าเกลียดสงคราม"


ดังนั้น กองทัพอเมริกันซึ่งจีไอซาลินเจอร์เคยร่วมรบร่วมเป็นหัวหอกและต่อต้านในที และเมื่อเขาจรดปากกาเขียน ดีบีก็เล่าว่า "กองทัพมีทักษะอย่างดี ทั้งยังเต็มไปด้วยคนทุเรศห่วยแตกเหมือนอย่างที่นาซีเคยเป็น" นอกจากนี้ ดีบี--ตัวละครที่ซ่อนความเป็นซาลินเจอร์ สำหรับเมคครัม มันถูกเอ่ยขึ้นอีกครั้ง ถัดลงมา 2 บรรทัด "อัลลีเคยถามเขา (ดีบี) ครั้งหนึ่งว่า มันไม่มีอะไรดีเลยเหรอ ตอนที่ดีบีอยู่ในสงคราม เพราะว่าเขาเป็นนักเขียนและมันมีเรื่องราวให้เขาเขียนได้เยอะแยะ ทั้งแบบพาดพิงบางส่วนหรือเขียนมันทั้งหมดนั่นแหละ" (หน้า 126-127)


บางครั้ง อาจจะเป็นเวลานี้--เมื่อเขาได้ตายไปแล้ว ใครบางคนได้รับอนุญาตให้เขียนอัตชีวประวัติของซาลินเจอร์ และเริ่มขุดข้าวของเขาขึ้นมา พนันได้เลยว่า มันน่าสนใจโคตรๆ (ขอยืมสำนวนซาลินเจอร์นี๊ดนึง)

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Lee Bul

ภาพถ่ายผลงานศิลปะ"Sternbau" โดย Emily Verla Bovino
ภาพถ่าย ลี บูล โดย Reinhard Mayr Bawagfou
"ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ทว่าก็อย่าหยุดไล่ล่าความฝัน" คือสิ่งที่ดึงดูดศิลปินชาวเกาหลี Lee Bul มายาวนาน ในช่วงคริสต์ศักราช 1990 รูปปั้นไซบอร์ก ซึ่งมาจากความนิยมชมชอบอวัยวะปลอมและศัลยกรรมพลาสติกเป็นพิเศษ เพื่อบทสรุปอันสวยงาม : ผู้หญิงหุ่นยนต์ในอุดมคติ เร็วๆ นี้เอง เธอกลับมาอีกครั้งพร้อมผลงานที่มุ่งโหมดแฟนตาซีแห่งงานสถาปัตยกรรมในอนาคต ซึ่งผลงานระบุแห่งช่วงเวลาไว้ว่า "อยู่ในช่วงเริ่มแรกศตวรรษที่ 20" รูปปั้นที่ตกแต่งไว้แล้วและการติดตั้งที่ถูกสลักเสลาด้วยโลหะขดเกลียว ตกแต่งด้วยชิ้นคริสตัลลเล็กๆ และสายโซ่ จัดวางในกล่องที่สะท้อนให้เห็นมุมมองตรงกันข้าม แขวนห้อยจากเพดานลงมา ดั่งปราสาทในอากาศ เป็นงานที่ละเอียดด้วยการประดิดประดอย ถูกแนะนำให้เป็นประเภทหนึ่งในโลกโพสต์โมเดิร์น ที่ซึ่งสิ่งก่อสร้างแบบโมเดิร์นส่องแสงในซากปรักหักพักอันแสนเย้ายวน
ลี บูล เกิดในปี 1964 ในหมู่บ้านอันห่างไกลของเกาหลีใต้ ที่ซึ่งพ่อแม่ของหล่อนถูกขับไล่ให้ซ่อนตัวโดยรัฐบาล ในฐานะปรปักษ์ทางการเมือง เธอและผลงานของเธฮเป็นที่จดจำในช่วงท้ายๆ ยุค 80 ผ่านการแสดงผลงานบนถนนอันแปลกประหลาด รูปปั้นหลายชิ้นที่เป็นงานระยะแรกออกแบบสำหรับการถูกสวมใส่ (ถูกห่อคลุมด้วยการปะติดอันแปลกต่างและตกแต่งด้วยแผ่นโลหะรูปวงกลมชิ้นเล็กๆ) กล่าวกันว่ามันเป็นงานแห่งกระบวนการการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งในทิศทางที่แตกต่าง ซึ่งมันเป็นการแปลกช็อกวงการและเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก
ในท้ายยุค 90 ด้วยผลงานไซไฟของลี บูล อันได้แก่ ผู้หญิงไซเบอร์ ซึ่งมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่าง ด้วยหัวที่หายไป ขาดแขนขาดขา เช่นเดียวกับรูปร่าง Torsos (รูปหุ่นคนที่ขาดแขนขาดขา) เหมือนรูปปั้นในยุคเรอเนสซองค์ เช่นเดียวกับนวนิยายไซเบอร์พังค์ของ William Gibson งานของเธอ ชี้ให้เห็นอนาคตอันน่าสะพรึงกลัว ที่ซึ่งเทคโนโลยีคือสิ่งที่ให้อิสระน้อยกว่าสภาวะที่ทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอ
ห้าปีที่ผ่านมา บูลหยุดงานศิลปะสุนทรียศาสตร์ที่คุ้นเคย (Beauty Gone Mad) อันเป็นธีมงานหลักที่เคยสร้างอย่างต่อเนื่องและไม่เคยเปลี่ยนแปลง ในชุดผลงาน ปี 2007 "Sternbau" ได้รับแรงบันดาลใจจากงานต้นแบบของ Bruno Taut ซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมผ่านมุมมองศิลปะ ทำขึ้นเพื่อเมืองอันโปร่งใสดั่งแก้วคริสตัลใน Alps (สร้างในปี 1917) งานส่องสว่างอย่างมืดทึบ คล้ายแชนเดอร์เลียร์แขวน ชายขอบรกรุงรังด้วยงานศิลปะ (Sclupture) ที่ดูเหมือนหนักมาก ปราศจากการจัดวางที่ถูกควบคุม งานศิลปะที่ติดตั้งภายในปีเดียวกัน "Heaven and Earth" ค้นพบจากการต่อต้านการเข้าสู่โลกโมเดิร์นในประเทศของเธอ ซึ่งเป็นสิ่งสกปรกรกรุงรัง ห้องอาบน้ำปูกระเบื้องสีขาวคล้ายลายบนกระดองเต่า อ่างอาบน้ำที่ในช้วัสดุสีดำหนาแน่นและมีกลิ่นอันไม่น่าพึงประสงค์ งานชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นความดีของความน่าสะพรึงกลัว ผลงานเป็นรูปปั้น Baekdu Mountain สีขาวเหมือนหิมะ อันเป็นสถานที่ต้นกำเนิดของประเทศเกาหลี
คัดย่อจากบทความ Artist of the week 97 : Lee Bul โดย Skye Sherwin

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Jason Bell's best shot


ดาราหลายคนเป็นโรคตื่นกลัวผู้คนยามมีชีวิตส่วนตัว เช่นเดียวกับ Stephen Fry หลังจากการให้สัมภาษร์แย่ๆ ใน "Cell Mates in the West End" เขาตระหนกกลัวและวิ่งหนีฝูงชน เป็นเรื่องราวครึกโครม ผู้คนอยากรู้ว่าเขาหนีไปไหนกันแน่ แต่แล้วก็มีคนเจอสตีเฟนที่เบลเยี่ยม ด้วยเหตุการณ์นี้ เขาจึงปรากฎตัวท่ามกลางฝูงชนด้วยกลุ่มอาการไบโพล่าร์ (โรคคนสองบุคลิก)


ในปี 1998 เจสัน เบล ช่างภาพสื่อมวลชนถ่ายรูปของเจสัน ฟราย ลงใน the Sunday Times ซึ่งเป็นภาพที่น่ารักกว่าครั้งแรกที่เคยถ่ายครั้งการให้สัมภาษณ์แย่ๆ ของฟราย เป็นภาพที่ถ่ายค่อนข้างลำบาก เมื่อคุณถูกส่งให้ไปพบใครบางคนในห้องของโรงแรม เจสัน เบล พบว่า มันน่าเบื่อน่าทน ถ้าฉากหลังของภาพเป็นม่านของโรงแรมอันแสนน่าสะอิดสะเอียน ยิ่งมีเวลาสั้นกระจิดริด แถมยังเป็นห้องที่ใช้ถ่ายทำงานอื่น ด้วยการลั่นชัตเตอร์ 5 ครั้ง หลังชนหลังกับช่างภาพคนอื่น ในห้องเดียวกัน ทว่า มันคือความท้าทายอย่างหนึ่ง : คุณจะต้องคิดไอเดียให้ภาพนั้นแตกต่างจากคนอื่นๆ


ในสถานการณ์นี้ เจสัน เบล มักจะไปถึงสถานที่ก่อนและมองหามุมดีๆ "ผมดูคอลัมน์ก่อนแล้วจึงคิด 'มันต้องมีบางอย่างที่นั่นสิ' ผมวางแผนบางอย่างให้คลาสสิกกว่า ; อย่างภาพของสตีเฟน ฟราย ก็ศึกษามาก่อน ผมอยากให้เขาดูสุขุมลุ่มลึก น่าเคารพ" เมื่อเขาคิดคอลัมน์นั้นจนทะลุทะลวงแล้ว เจสัน เบล จำได้ว่าบอกกับสตีเฟน ฟรายว่า "นั่นน่ะ ดูดีแล้ว แต่ตอนนี้ คุณช่วยทำให้ดูกังวลมากกว่านั้นได้ไหม?" ซึ่งเขาทำมันได้ทันที เจสันรู้เลยว่ามันเป็นภาพที่ดี เป็นความบังเอิญที่น่าดีใจ ทว่านั่นเพราะได้ภาพที่ดีกว่า จึงหยิ่มใจ นั่นคือทักษะหลอกล่อให้ได้ภาพที่แตกต่างด้วยรสชาติของเขาเอง บางคนแนะนำให้เจสันเข้าร่วมการแข่งขันถ่ายภาพ และเขาก็ชนะเลิศรางวัล British Picture Editors award


เมื่อคุณถ่ายภาพคนดัง ซึ่งมักมีคลื่นรบกวนโดยรอบ ทั้งนักข่าวสัมภาษณ์ นักข่าวประชาสัมพันธ์ สไตลิสต์ ช่างแต่งหน้า ช่างทำผม มันยากมากที่คุณจะอยู่กับคนดังตัวต่อตัว ยิ่งไปกว่า ด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวนั้น พวกเขาจะถูกถ่ายรูปเสียจนช้ำ มันยากมากที่จะได้ภาพแบบใหม่ๆ ติดมือกลับบ้าน


สิ่งที่เจสัน เบล พบสม่ำเสมอ ในวันที่เขาใส่ฟิล์มลงในกล้อง--เขาถ่ายรูปหน้าบุคคลแต่ละครั้ง จะได้ภาพที่เปลี่ยนไปเสมอ เมื่อเขาเพ่งพินิจดูแต่ละรูปให้ละเอียด ดังนั้น จึงพิถีพิถันเลือกใช้กล้องถ่ายรูปเป็นพิเศษและพยายามคิดค้นสร้างสรรค์ภาพ (นั่นคือเทคนิคส่วนตัว) เจสันกล่าวว่า "ผมไม่ใช่ช่างภาพสายนักข่าว ทว่าผมคือผู้เฝ้าสังเกตและผมมันนิสัยเยี่ยงเจ้านาย...มันง่ายมากกว่าเพื่อให้บรรดาคนที่คุณถ่ายรูปเชื่อถือคุณ"


ประวัติ

เกิด : ลอนดอน 1969

ศึกษา : ไม่ได้เรียนถ่ายรูปโดยตรง ทว่า เขาเริ่มจริงจังเมื่ออายุ 14 ปี เมื่อเขาได้รับกุญแจห้องมืด (ห้องล้างภาพ) ของโรงเรียน

แรงบันดาลใจ : Ansel Adams กล่าวเทคนิคไว้ว่า "ผู้คนไม่รบกวนผู้อื่นนานๆ ด้วย การสลัก แกะงานออกมา"

ลับสุดยอด : "ลับเฉพาะเลยนะ ผมมองนักเรียนจำนวนมากทำสิ่งละอันพันละน้อย พวกเขาสนุกสนานอยู่รอบๆ บริเวณนั้น เลือกโปรเจกต์มาสักอย่างและทำงานอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณสนุกที่ได้ทำมัน"


ข้อมูลจาก guardian.co.uk เขียนโดย Andrew Pulver

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Kept going back, Henri Matisse





ภาพที่ 1
ภาพวาด
Odalisca con
Magnolia
ในปี
1913
ภาพที่ 2 ภาพวาดฺ
Bathers by a River
ในปี
1913
ภาพที่ 3 ภาพถ่ายของเฮนรี่ มาธิส

ราวๆ ปี 1913 ดูเหมือนว่าผลงานของ Henri Matisse อยู่ในช่วงจุดสูงสุด กลางทศวรรษที่ 40 เขาเป็นนักวาดภาพชั้นยอด--ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล สตาร์ ทั้งๆ ที่ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันประกาศว่า งานของเขาเป็นฉลากงานแบบโมเดิร์นนิสต์ที่ใช้พื้นผิวหนาเข้มสร้างความรู้สึกหนักๆ หรือตลกขบขัน ค่อนข้างหยาบคาย มาธิสวาดภาพผู้หญิงเปลือยอกไม่น่าดูชม


หลังจากที่ลมพัดหวนจากโมร็อกโกมาปารีส ในฤดูใบไม้ผลิปี 1913 เขาเริ่มต้นวาดรูปซึ่งเป็นรูปที่ดูง่ายกว่าและมีมิติมากกว่างานสีสันหนาเข้ม รูปภาพใต้ผืนผ้าใบผ้าใบมีการเติมแสงอาทิตย์ หลังจากนั้น ก็กลายเป็นผลงานลายเช็นของเขา เป็นเวลาเดียวกันกับที่เริ่มผันตัวเองมาเป็นพวกคิวบิสซึ่ม ซึ่งคนกลุ่มนี้รายล้อมไปด้วยศิลปินหนุ่มสาวผู้รักอิสระเสรี เช่น ฮวน กริส, จอร์จ บ๊าค แน่นอนที่สุดต้องมี พาโบล ปิกัสโซ่ ผู้ซึ่งมาธิสเริ่มพบปะพูดคุยมากครั้งในระหว่างหลายปีนั้น
ขณะที่เขาชื่นชมนวตกรรมแบบคิวบิสซึ่ม มาธิสเริ่มสงสัยว่างานเหล่านั้นเป็นการเน้นย้ำถึงการเป็นปัญญาชนฤา ในเวลาเดียวกันนั้น เขาชื่นชมผลงานของปอล เซซาน เช่นกัน--โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการวางคอมโพสอย่างระมัดระวัง ในขณะที่มาธิสเริ่มใคร่ครวญอีกครั้งถึงวิธีการทำงานของตัวเองและความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างงานศิลปะ
หลายปีผ่านไป พิสูจน์ว่า เป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของมาธิส ด้วยชีวิตในปารีสที่ยากลำบากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเริ่มทดลองวาดภาพจากแสงเงาธรรมชาติ ด้วยสีดำและเทา รวมทั้งรูปร่างพื้นผิวเป็นเหลี่ยมเป็นมุม (geometric) และการวางคอมโพสธรรมดาไร้การตกแต่งให้น่าดูชม โดยปี 1917 เขาย้ายมาที่เมืองนีซและเผยโฉมใหม่อีกครั้งในฐานะนักวาดรูปที่ละทิ้งวิธีกระบวนการแบบคิวบิสซึ่มและรับสไตล์ที่ใกล้เคียงกับศิลปะอิมเพรสชั่นนิสต์ วาดภาพผู้หญิงด้วยเส้นสีเงาเบาบางผู้แวดล้อมด้วยข้าวของการตกแต่งภายในแบบบ้านเล็กในชนบท ภาพวาดผ้าใบทั้งหมดค่อนข้างโรแมนติก ทำลายสิ่งทีดูหนักๆ ทันสมัยมากกว่าและเป็นสายตาที่ย่อย่อยมาแล้ว (หรืองานที่เรียกว่าแบบคิวบิสต์ซึ่มนั่นเอง) หมดสิ้น
แม้ว่านักประวัติศาสตร์ศิลปะวิจัยกรเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลา โดยศึกษากระบวนการวาดภาพแบบตัวต่อตัว จากที่พวกเขาไม่มีความคิดเห็นชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงถูกพัฒนาอย่างไร มีการทดลองกี่ครั้งกว่าไปสู่ผลงานใหม่ๆ และอะไรคือรูปแบบสามัญที่ศึกษา การทบทวนงานเก่าๆ หรือการปฏิเสธการเข้าไปมีส่วนร่วมของที่มีอยู่แล้ว


ปัจจุบัน, เรื่องเร้นลับถูกหาคำตอบอย่างกว้างขวาง "Matisse :Radical Invention, 1913-1917" ขณะนี้นิทรรศการเปิดแสดงที่ Museum of Modern Art การแสดงครั้งนี้เป็นโอกาสที่หาได้ยาก เพื่อมองงานของมาธิส ให้เห็นการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงว่า เดินทางมาถึงปัจจุบันได้อย่างไร งานหลายแหล่ผ่านการตรวจสอบจากนักวิจัยประวัติศาสตร์ศิลป์โดยกระบวนการตรวจสอบด้วยเทคนิคภาพนิวดิจิตอล สแกนเลเซอร์ การให้ภาพให้สีแบบอัลตร้าไวโอเลตและชอล์ฟแวร์ คอมพิวเตอร์อันทันสมัย ทดลองตัววอย่างการวาดภาพให้สีและศึกษาวัตถุใหม่หลายต่อหลายครั้ง
นับว่าแวดวงภัณฑารักษ์ก็มีพัฒนาการการสืบวิเคราะห์ ศึกษากระบวนงานของเขาอย่างทะลุปรุโปร่ง ผลงานศิลปะล้ำหน้า งานวิจัยก็ก้าวตาม



วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Inez Van Lamsweerde and Vinoodh Matadin's best shot




ช่างภาพคู่รัก Inez Van Lamsweerde และ Vinoodh Matadin ตั้งคำถามว่า อะไรคือภาพถ่ายปุถุชน พอร์ตเทรตมีไว้เพื่องานแฟชั่น เพื่อคำขอบคุณพระเจ้าที่ให้ลมหายใจ หรือแสดงประสบการณ์เรื่องราวภายในจิตใจซึ่งให้ความหมายมากกว่าในโลกแห่งศิลปะ ภาพนี้ภรรยาจูบกับสามี ด้วยอารมณ์แห่งความหวาดกลัวที่จะสูญเสียสามีผู้ซึ่งทำงานด้วยกันและไม่อาจขาดกันและกันได้เลย


พวกเขาไม่เคยตั้งคำถามเกี่ยวกับการร่วมงานศิลปะ ชีวิตของพวกเขาเป็นมากกว่าการเป็นของกันและกัน ใช้เวลาด้วยกันมากเท่าที่จะทำได้ ผู้ช่วยช่างภาพลั่นชัตเตอร์ชุดภาพโพลารอยด์เล่าเรื่องที่ชานนอกบ้านในนิวยอร์ก จูนคลื่นอารมณ์ประเดี๋ยวก็จูบกันอย่างดูดดื่ม โดยเลือกเวลาที่แสงตกกระทบใบหน้าในทิศทางเดียวกันและคอของไอนีซก็ดูยาวมาก หล่อนลบภาพวีนูดเพื่อแสดงว่า อารมณ์หล่อนกัดกร่อนพังทลายแค่ไหนถ้าขาดสามี มันเป็นช่วงเวลาสำคัญ เมื่อพวกเขาอยู่ในจอภาพ ชวนภาพจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตาม ความรู้สึกที่ถูกถ่ายทอดมันยอดเยี่ยม ค่าที่ได้คือ ความน่าตื่นเต้นอย่างมาก


งานชิ้นนี้แสดงภาพด้วยมุมด้านข้าง จูบแบบสามัญธรรมดา เพื่อแสดงความรู้สึกให้ผู้อื่นรู้ว่า มันสำคัญอย่างยิ่งยวดหาที่สุดไม่ได้ ดูเหมือนกำลังจูบฟิล์มอยู่ ดังนั้น พวกเขาปรี๊นต์ภาพออกมาขนาดเล็ก : รู้สึกว่ามันเป็นภาพอันคุ้นเคยด้วยอารมณ์แห่งห้วงรัก ในทางตรงกันข้าม ภาพขนาดใหญ่ 4x5 เมตร แสดงความรู้สึกอย่างรุนแรงออกมา ซึ่งพวกเขาไม่ต้องการให้ภาพมีอารมณ์นิ่งงัน ทว่า ต้องการกรีดร้องให้ผู้อื่นร่วมรับรู้


เป็นแบบที่อยู่ในภาพมันง่ายกว่ามาก...ไม่ต้องสุภาพ แล้วก็เข้าใจว่า ทำไมศิลปินคนอื่นๆ เช่น ซินดี้ เชอร์แมน ถึงถ่ายรูปตัวเอง : เพราะว่าอยากทำให้ตัวเองเป็นบางสิ่งและไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องความน่าเกลียด


เขาไม่สามารถบอกได้ว่า เขาชอบภาพที่ถูกรีทัชเพื่อให้ตาย หรือเมื่อไหร่ที่ผู้คนไม่ได้ดูเหมือนพวกเขาอีกต่อไป เมื่อรีทัชรอยยับย่นของผิว พวกเขาพยายามทำให้มันดูเหมือนของดั้งเดิมที่สุดเท่าที่พวกเขาทำได้ ทว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมปัจจุบัน : พวกเขากลายเป็นอวาตาร์

ประวัติศิลปิน

เกิด : ไอนิซ : 1963 อัมสเตอร์ดัม, วินูด : 1961 อัมสเตอร์ดัม

อาชีพ : ช่างภาพในวงการแฟชั่นนิตยสาร Vogue และแคมเปญโฆษณา

แรงบันดาลใจ-อิทธิพลจากศิลปิน : เฮลมัต นิวตัน, กีย์ เบอร์เดน, เจฟ วอลล์, ฟรานซิส เบคอน, ซินดี้ เชอร์แมน, เออร์วิง เพนน์, ริชาร์ด อวีดัน

จุดสูงสุด : ปัจจุบัน--นิทรรศการผลงานตลอด 25 ปี แห่งการทำงาน พวกเขาแสดงโชว์ด้วยวิธีที่ชัดเจน...ย้ำความมีอยู่จริงของมันสมองของเขาทั้งคู่

จุดต่ำสุด : พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวอย่างถึงขีดสุดระหว่างช่วงปีแรกในนิวยอร์ก ไม่มีใครมองเห็นพวกเขา!!!

แปลและเรียบเรียงจากบทความของ guardian.co.uk

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเทศที่แบ่งแยกด้วยสีขาวและดำ




ภาพถ่ายเดวิด โกลด์แบลต์ จากเดอะ การ์เดียน


ก้าวเข้าสู่นาทีสำคัญของฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ (ในขณะที่เมืองไทยสำคัญทุกแมตช์ที่เสียตังค์) ประเทศที่มีประชากรทั้งคนเชื้อชาติแอฟริกันและผู้คนที่อพยพมาจากประเทศและทวีปอื่น เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่เดวิด โกลด์แบลต์--ช่างภาพชาวแอฟริกาใต้มองโลกด้วยสายตาที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่คนมากมายเพิกเฉย ผู้คนกู่ร้อง ร่ำไห้ เร้าใจไปกับเกมกีฬาฟุตบอล ทว่า ผลงานศิลปะของโกลด์แบลต์หลีกเลี่ยงการแสดงสิ่งที่เปิดเผยความรู้สึก เสนอข้อเท็จจริงอันทุกข์ทนของแอฟริกาใต้ การสำรวจที่ลึกซึ้งเป็นเวลานานจากงานของเขา ปี 1948-2009 แสดงที่พิพิธภัณฑ์คนยิว ในนิวยอร์ก บันทึกความเป็นไปในทุกวันของประเทศที่แบ่งแยกเผ่าพันธุ์ด้วยรูปภาพชานเมืองของพวกผิวขาวและกลุ่มที่พักอาศัยของคนดำ กลุ่มคนทางการเมืองผู้มีเชื้อชาติแอฟริกาและเกมฟุตบอลโซโวโต้ ภาพถ่ายคนผิวขาวและดำ 150 คน ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งสถาบันและชีวิตส่วนตัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอดีตทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตที่ซับซ้อนที่สร้างรูปแบบชีวิตในปัจจุบัน รวมทั้งของนายโกลด์แบต์เองด้วย


เขาเกิดปี 1930 ในเมืองเหมืองทองคำของแรนโฟนไทน์ ใกล้ๆ โจฮันเนสเบิร์ก เป็นลูกหลานของชาวยิวลิโธเนียนผู้อพยพมาแอฟริกาในศตวรรษที่ 19 เริ่มถ่ายรูปตั้งแต่วัยรุ่น รูปถ่ายจากชั้นมัธยมปลายหลายปีเป็นงานอ่านประสบกาณณ์อันซับซ้อน หนึ่งในงานระยะแรก ในนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์คนยิว "รูปถ่ายเซาธ์ แอฟริกา : เดวิด โกลด์แบลต์" ถ่ายในปี 1948 ชักภาพแรงงานผิวดำในโดร์แบน ระหว่างเต้นรำอย่างเต็มที่ เหลือบสายตามองกล้องเล็กน้อย การแสดงผลงานในครั้งที่สองและครั้งที่สาม กวาดสายตามองว่าอะไรเป็นสิ่งที่แท้จริงของภาพถ่าย : งานกราฟฟิตี้ของสัญลักษณ์สวัสดิกะที่พ่นอย่างลวกๆ บนผืนกำแพง ลวดลายของมันสะท้อนรูปแบบผู้คนที่เพิ่มขึ้น


ตลอดช่วง 50s โกลด์แบลต์เรียนถ่ายรูปขณะที่ทำธุรกิจครอบครัวไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นธุรกิจร้านเสื้อผู้ชาย ในปี 1962 เขาเริ่มถ่ายรูปอาชีพ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย ในท้ายศตวรรษที่ 40 พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลควบคุมโดยชาวแอฟริกันผิวขาวเชื้อสายดัตช์ ตั้งนโยบายแห่งชาติ ว่าด้วยการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์หรือระบบการเมืองแอฟริกาที่ให้ชนผิวขาวมีสิทธิ์เป็นพลเมืองสมบูรณ์แบบ คนผิวดำหรือผิวสีอื่นๆ คือ พลเมืองชั้นสอง


เกือบจะทันทีที่ข้อห้ามพิเศษเริ่มได้ผล ในปี 1949 การแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ปี 1950 เมืองต่างๆ ถูกแบ่งเขตแดนที่อยู่อาศัยโดยใช้เผ่าพันธุ์เป็นเกณฑ์คัด ปี 1951 บรรดาคนผิวดำถูกร้องขอให้เคลื่อนย้ายไปที่เขตคุ้มครองซึ่งรัฐบาลออกรูปแบบให้ ชื่อว่า "แบนทัสแทนส์" หรือรัฐบาลแห่งพงศ์พันธุ์ เปลี่ยนทั้งงานและการได้รับการบริการทางสังคม โดยปี 1953 เริ่มมีสิ่งสาธารณะเพิ่มขึ้นหลายชนิด ทั้งชายหาดหลายแห่ง น้ำพุกลางแจ้ง เป็นของเฉพาะเผ่าพันธุ์


การรณรงค์การแบ่งแยกครั้งนี้เป็นประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งผ่านภาพถ่าย ความรุนแรงที่น่าตื่นตระหนกที่ถูกผลิตบ่อยครั้ง ดูเหมือนไม่เกิดขึ้นในการอยู่แอฟริกาในช่วงปีนั้น เมื่อมาตรฐานยังคงใหม่และการต่อต้านยังไม่ได้เกิดขึ้น ในอีกทางหนึ่ง ชาวแอฟริกาใต้ตกอยู่ในภาวะฝันร้ายทางศีลธรรม รัฐบาลใหม่หยุดการกระทำกับพลเมืองทั้งหมดบนพื้นฐานด้านสีผิวและการทำให้ใครเจ็บปวด ว่าด้วยประชากรกับข้อเสียเปรียบอันผิดปรกติจากความเป็นจริง ใช่แล้ว! ชีวิตประจำวันดำเนินไปเรื่อยๆ ผู้คนตื่นขึ้นและไปทำงาน ต่อรองกับบรรดาเจ้านาย เพื่อนบ้าน ครอบครัว เงินหรือสิ่งที่ขาดหาย ราวกับว่าการแบ่งเชื้อสายเผ่าพันธุ์โดยองค์กรรัฐกลายเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว โดยเพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณคือคนขาว--ปรุโปร่ง ปรกติ ธรรมดา


มันคือแอฟริกาใต้ที่นายโกลด์แบลต์ถ่ายรูปไว้ ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในช่วงยุคยากลำบากของวีรบุรุษ (ผู้ที่ต่อสู้ทางความเชื่อ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ บางครั้งเลยเถิดถึงการเป็นฆาตกร) ทว่าสังคมถูกควบคุมด้วยระบบที่นำเสนอให้ทุกๆ วัน ความใจดี โอบอ้อมอารีและความโหดร้ายทารุณ ถูกซุกซ่อนถ้วยระบบอันกัดกร่อนใจกลางสังคม นายโกลด์แบลต์ใช้แบบจำลองของการแบ่งชนชั้น เขาสร้างสรรค์รูปภาพที่มองครั้งแรกดูเหมือนไม่น่าตื่นเต้น สั้นๆ ง่ายๆ ทั่วไป รวมทั้งไม่มีใจความหลัก แต่เมื่อคุณอ่านข้อเขียนแนะนำชิ้นงาน คุณจะพบว่า ทุกรูปมาจากเรื่องราวครั้งหลังซึ่งลงรากลึกและทำให้มันหม่นมืด


เซ้นส์เรื่องศิลปะของเขาแตกประเด็นเกี่ยวกับเรื่องราวหวนหลัง การเกิดขึ้นร่วมกันของความแตกต่าง ความเป็นจริงที่สะท้อนกลับมา ถูกครอบคลุมและใช้มันสนับสนุนผลงาน ในรูปถ่ายเมื่อราวๆ ปี 1955 ครอบครัวคนผิวดำ แม่กำลังแบกกระเป่าเดินทาง พ่อจูงมือลูกข้ามถนนว่างเปล่าในโจฮันเนสเบิร์ก "พวกเขาเพิ่งมาถึงเมือง" โกลด์แบลต์เขียนไว้ใต้ภาพ พวกเขาดูมั่นใจ, ที่บ้านในเมือง



จากปี 1964 มาถึงรูปภาพโจฮันเนสเบิร์กรูปอื่น ห่างไกลอารมณ์ความรู้สึกมองโลกในแง่ดี ปัจจุบันมีคนผิวดำมากมายในเมือง ฝูงชนทำงานถึงสิ้นวันทำงาน เดินขวักไขว่เต็มลานสองข้ามถนน พวกเขามุ่งหน้าไปที่รถไฟกลับโซวีโต (South Western Townships) เหมือนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกคนที่ถูกแบ่งแยกสีผิวไว้ ขณะที่ท้องถนนแน่นขนัดด้วยรถราที่มุ่งตรงไปในทิศทางตรงกันข้าม คาดเดาว่ามุ่งไปที่บ้านในย่านนอกเมืองของคนขาว



ในปี 1972 นายโกลด์ แบลต์ ใช้เวลาทุกวันเป็นเวลากว่า 6 เดือน ถ่ายรูปโซวีโต เขาทำงานด้วยวิถีนั้น โดยสร้างข้อตกลงเรื่องเวลาและพลังงานในสถานที่พิเศษๆ หรือกลุ่มคน เชื่อมโยงอย่างแปลกประหลาดด้วยการเล่าเรื่องที่ปรากฎในภาพ บ่อยครั้งที่หัวข้อเลือกพุ่งประเด็นไปที่งานหรือสถานการณ์ที่มากด้วยปัญหาและยากที่จะแก้ไข กิจกรรมด้วยความยากเข็ญ : สถานที่อันตรายหรือยากที่เข้าไปได้ ผู้คนที่สับสนและอธิบายได้ลำบาก แล้วชวนให้อารมณ์เสีย ทว่าทางเลือกของเขาคือ วางแผนไว้แล้วว่า "ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความไม่จงใจ" การไม่เอื้ออำนวยจะดำรงทัศนคติของเขาให้ออกจากความสมดุล


เขาแสดงงานหลายต่อหลายครั้ง การแสดงงาน 2 ซีรีส์ ถ่ายทอดความเป็นคนแอฟริกัน--กลุ่มคนที่เขาเอาตัวเองเขาไปคลุก เห็นความแตกต่างระหว่างความเชื่อและสถานะ รูปถ่ายเรียงแถวความแตกต่างของคนแอฟริกันแสดงโชว์ในพิพิธภัณฑ์คนยิว ดำเนินงานโดย ซูซาน ทูมาร์คิน



ในปี 1984 โกลด์แบลต์ เดินทางไปพร้อมคนแอฟริกัน กวาดตามองแสงไฟหน้ารถบัส เขาถ่ายรูปคนทำงานผู้คอยท่าเพื่อเปลี่ยนทิศางการเดินทาง ครั้งหนึ่งบนถนน โกลด์แบลต์ถ่ายรูปพวกเขาในระยะใกล้ชิด ทั้งนั่ง ทั้งยืน ทั้งงีบหลับ ภาพนี้ไม่มีเรื่องราวหนหลัง ไม่มีอะไรซ่อนอยู่ข้างใน แต่สิ่งที่มันเป็นคือ ภาพที่สะท้อนถึงการมีชีวิตอยู่ นั่นคือสิ่งที่พวกเขายังคงดำเนินอยู่ มองพวกเขาเรื่อยๆ เช่นผลงานของโกลด์แบลต์ มันทั้งเงียบและตื่นตัว ปลุกให้ตื่นทั้งๆ ที่พวกเขาดูเหมือนหลับ

แปลและคัดย่อมาจาก เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์



วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความตายของนักประพันธ์




หลังจากที่อัศวินโรล็องด์ บาร์ต โจมตีผลงานวิจารณ์ที่ใช้อัตชีวประวัติเป็นพื้นฐาน--อา ลา แซงต์ เบิฟ (ในภาษาฝรั่งเศส) หรือ แลนสัน (ในภาษาอังกฤษ) บทความสำคัญแห่งวงการวิชาการฝรั่งเศสในยุคซิกส์ตี้ แน่นอนว่า มันเป็นผลงานย้อนแย้งของบทความ--ด้วยการฆ่าสัญลักษณ์ความเป็นพ่อ "ผู้ประพันธ์-พระเจ้า" (with its symbolic of the paternal "Author-God") ตามตำราจิตวิทยา แจ้งว่า บาร์ตเสียบิดาตั้งแต่ก่อนวันครบรอบวันเกิดขวบปีแรก ธีมที่ว่าเรื่อง "การตายของนักประพันธ์" เริ่มปรากฎสิ่งแตกต่างที่นำความหมายเพิ่มเติมในส่วนความเข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อนานมาแล้ว เมื่อคุณใคร่ครวญว่า อาชีพนักวิจารณ์ของบาร์ต เป็นกิจกรรมการโน้มนำผู้คนให้ออกจากสิ่งที่เป็นอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเขียนนิยายที่พวกเขาฝันถึง




ในปี 2002 ที่ปอมปิดู เซ็นเตอร์ ในปารีส อุทิศนิทรรศการหลักให้แก่โรล็องต์ บาร์ต ผู้ซึ่งไม่ใช่ศิลปิน ไม่ใช่นักปรัชญา ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนนิยาย ทว่าเขาคือนักวิจารณ์ นิทรรศการชื่อว่า "Theory wars" -เป็นการฉีกวรรณกรรมในสองฝั่งแอตแลนติกออกจากกัน- มันจบอย่างตรงประเด็น งานถูกใช้ให้เป็นเครื่องเตือนแห่งเวลา ระหว่างเวลาของกลุ่มนักโครงสร้างนิยมและพวกหลังโครงสร้างนิยม--ทฤษฎีที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง เพราะมันใหม่กว่าและมีประสิทธิภาพ เช่นงานของ ชอง-ปอล ซาร์ต ในฐานะไอคอนของผู้ทรงภูมิปัญญาคนแรกของฝรั่งเศส (France's premier intellectual icons) ซึ่งคนกลุ่มนี้รวบรวมนักปราชญ์ นักมนุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์และนักจิตวิเคราะห์คนสำคัญ เช่น ชาร์ก ลากอง มิเชล ฟูโกต์ กิลส์ เดอลูซ จูเลีย คริสเตอว่า ฯลฯ ทว่า ชิ้นงานที่ปฏิวัติวงการภูมิปัญญากลับเป็นงานวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย




การวิจารณ์แบบใหม่ (La nouvelle critique) คือรสชาติปาก เหมือนนักวิจารณ์อาหาร แม้ว่า มันอธิบายได้ยากกว่า ว่ากันว่า บาร์ตเป็นทั้งนักวิจารณ์และนักคิด ผู้ซึ่งใช้เวลาอยู่ที่บ้าน อยู่วิทยาลัยแห่งฝรั่งเศสที่ดีกว่าคนทั่วไปได้เรียน อยู่ตามไนต์คลับทันสมัย ในสัดส่วนเวลาที่เท่าๆ กัน บ่อยครั้งงานของเขากลายเป็นเบสต์ เซลเลอร์ แทนที่จะแขวนไว้บนหิ้ง




บทความของบาร์ต เป็นฟีเจอร์แรกในแอน อเมริกัน ชูเนล (an American journal) ในปี 1967 แรกเริ่มเป็นงานแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษด้วยสำนึกเวลาตามหลักประวัติศาสตร์อย่างดีเยี่ยม มันปรากฎในบ้านเกิดในปี 1968 ในบริบทเสมือนการเดินจราจลที่มีนักศึกษาประท้วง ซึ่งเป็นหนึ่งในบทความที่ถูกรวบรวมจากบทความมากมาย โดยข้อเขียนถูกสำเนาและแจกจ่ายไปในหลากหลายมาวิทยาลัยทั่วโลก และกลายเป็นบทความต้องห้ามในหลายต่อหลายสถานศึกษา และในฝรั่งเศสเองก็ถือเป็นบทความต้องห้าม บางทีอาจมากกว่าที่อื่น ด้วยระบบการควบคุมของสังคมที่นำไปสู่เรื่องศิลปะและวรรณกรรมที่ถือว่าถูกแทนที่ฐานะของศาสนา นิตเช่ประกาศว่า "พระเจ้าตายแล้ว" (death of God) แล้วเพียงแค่คุณพิมพ์คำว่า "Author-God" ในกูเกิล คุณก็จะเข้าสู่โลกของโรล็องต์ บาร์ต




จุดเริ่มต้นของเขาเริ่มจากการยกประโยคจาก Serrasine (1830) นวนิยายที่คนรู้จักไม่กว้างขวางของบัลซัค เกี่ยวกับศิลปินผู้ตกหลุมรักชายคนหนึ่งผู้เชื่อว่าตนเป็นผู้หญิง (รู้กันว่าบาร์ตเป็นเกย์) บาร์ตนำเรื่องเล่าการผสมผสานเพศสภาวะ (gender-bending) ของลักษณะเฉพาะตัว (identity) ที่ถูกทำให้ผิดพลาด เข้าใจผิด ซึ่งเขาศึกษามันอย่างยาวเยื้อยใน S/Z (1970) เขาดึงคู่ขนานระหว่างความคลุมเครือของความรู้สึกของเซอร์ราซีนและลักษณะเฉพาะอันคลุมเคลือของผู้พูด ผู้ซึ่งบรรยายชายหนุ่มในฐานะแกนกลางความเป็นผู้หญิงอย่างเสียดสี มันคือการทำให้คนอื่นเข้าใจผิดใช่ไหม เป็นคาแร๊คเตอร์ของนิยายที่ว่าด้วยอุปสรรคแห่งรัก? ผู้เล่าหรือเปล่า บัลซัคผู้เป็นนักเขียนใช่ไหม? บัลซัคเป็นผู้ชายหรือเปล่า? มีความเป็นไปได้ในหลายแง่มุม บทวิจารณ์ดึงข้อสรุปว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะชี้ชัดว่า สาเหตุมาจากใคร-อะไร เขาอธิบายวรรณกรรมในฐานะพื้นที่ว่าง "ที่ที่ซึ่งบุคลิกเพาะตัวทั้งหมดสูญสลาย เริ่มต้นด้วยลักษณะเฉพาะของเรื่องที่เขียน" ความตายของนักประพันธ์ แสดงให้เห็นการเกิดของวรรณกรรม ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า "ด้วยนวตกรรมความคิดนี้ นักประพันธ์ไม่สามารถสร้างผลงานในแบบฉบับเฉพาะตัวได้อีกแล้ว" ("the invention of thisvoice, to which we can not assign a specific origin")




จริงๆ แล้ว นักเขียนสมัยใหม่ บาร์ตเรียกพวกเขาว่า "คนเขียนสคริปต์" พวกเขาเป็นเพียงนักสร้างความบันเทิงผู้ลอกเลียนคำพูดหรือการกระทำของคนมีชื่อเสียง โดยนำสิ่งที่เคยเขียนไว้แล้วกลับมาเชื่อมโยงกันอีกครั้ง "มันเป็นเพียงสิ่งที่พูดบอก ไม่ใช่การประพันธ์" งานฟิกชั่นทั้งหลายแหล่ป็นงานเขียนเก่าที่นำมาเขียนใหม่ และขาดสิ่งที่เรียกว่า "ความหมายแห่งนักบวชนักบุญเดี่ยวๆ ('สาร' ของ the Author-God)" มันหมายความว่า ไม่มีอะไรเป็นสิ่งดั้งเดิมอีกแล้ว ทว่า มีแต่ "จุดหมายปลายทาง" การเกิดของนักอ่านอาจเป็นค่าราคาความตายของนักประพันธ์

Piet Mondrian




ภาพแรก--เป็นภาพการวางสีเหลือง น้ำเงินและแดง (1937-1942) ผลงานซิกเนเจอร์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปะในยุคถัดไป รวมทั้งดีไซเนอร์และนักโฆษณา แสดงงานที่ Tate Modern และที่ Trafalger Aquare (1939-1943) ที่โมม่า นิวยอร์ก
งานนิทรรศการของ De Stijl และ Piet Mondrian เปิดแสดงในเดือนธันวาคม 2010 ที่ปอมปิดู เซ็นเตอร์ ...ปารีส


เปียต์ มงเดรน ศิลปินชาวดัตช์ เสียชีวิตในนิวยอร์กเมื่อปี 1944 รวมอายุได้ 72 ปี ผลงานของเขาถูกจัดให้เป็นงานแอ๊บสแทร๊คไร้ซึ่งการประนีประนอม ถูกยกย่องให้เป็นยอดของศิลปะอาวองการ์ด มีชื่อเสียงทั้งในยุโรปและอเมริกา ภาพวาดที่จุดพลุชื่อเสียงของเขา วาดขึ้นเมื่อปี 1922 จากคอลเล็กชั่นของอีฟ แซงต์ โลรองต์ อย่างไรก็ตาม สองปีที่มงเดรนอาศัยในลอนดอน (1938-1940) ถูกกล่าวถึงน้อยนัก ช่วงที่รู้ดีว่าเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในเมืองหลวง อาศัยอยู่ท่ามกลางศิลปินยิ่งใหญ่และสถาปนิกผู้มีชื่อ กลับถูกมองข้าม ปราชญ์ทั้งหลายให้ทัศนคติว่า ช่วงเวลานั้น เขาไม่สามารถผลิตงานอะไรได้เลย และเป็นช่วงเวลาที่ย่ำแย่ทุกข์ทรน่าอเนจอนาถ ทว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว มงเดรนวุ่นวายกับการสร้างผลงานภาพวาดชิ้นใหม่ ปฏิสังคมกับเพื่อนใหม่ รวมทั้งพัฒนาแรงกระเหี้ยนกระหือรือ (Passion) ส่วนตัวสำหรับวอลต์ ดิสนีย์




เขาจากปารีสมาลอนดอนเมื่อกันยายน 1938 พร้อมเพื่อนและศิลปินผู้ติดตาม (Winifred Nicholson) การอพยพครั้งแรกเพื่อความปลอดภัยจากการบุกรุกของเยอรมัน ด้วยความช่วยเหลือของศิลปิน--นวม กาโบ และ เบน นิโคลสัน พำนักที่แฟลตแฮมป์สเต็ด รับเฟอร์นิเจอร์และเสื้อผ้า (ซึ่งรวมทั้งรองเท้าแตะ) จากน้ำใจของกาโบ ในเวลาไม่นาน เขาเปลี่ยนพื้นที่พักอาศัยเดิมๆ กลายเป็นพื้นที่สไตล์ของเขาเอง ทาสีกำแพงสีน้ำตาล ใช้เฟอร์นิเจอร์แบบมินิมัล สีขาวสว่าง "ด้วยลายตารางแปลกๆ สีแดง" ราวกับว่าสร้างสรรค์ 3D




ที่นี่นี่เองที่เขาทำงานชนิดยากๆ ต้องใช้ความพยายามและความระมัดระวังอย่างสูงบนผืนผ้าใบผืนใหม่ "ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง" ถนนสายกว้างๆ ร้างผู้คน แต่ละช่วงตึกแน่นขนัดไปด้วยอาคารที่พักอาศัยที่น่าตื่นตาตื่นใจในเบลไซส์ พาร์ก และ แฮมป์สเต็ด รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแก่ เช่น ทาวเว่อร์ ออฟ ลอนดอน เขาส่งโปสการ์ดรูปภาพสถานที่ใหม่ๆ ไปให้น้องชาย--คาเรล บอกเล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น พูดถึงความเป็นไปในเมืองใหม่ของเขา รวมทั้งความอยากรู้อยากเห็นในงานสถาปัตยกรรม มงเดรนส่งโปสการ์ดไร้คาแร๊กเตอร์ที่ขึงขังจริงจังถึงน้องชายหลายแผ่น ในนั้นมีโปสการ์ดสโนว์ ไวต์ ของดิสนีย์ (เขาส่งให้น้องชายในปารีส ต้นๆ ปี 1938) มันแสดงให้เห็นถึงมุมสบาย น่ารักๆ ของเขา เขาเขียนว่า "เจ้าของที่ดินมีห้องของฉัน ทำความสะอาดโดยสโนว์ ไวต์ และกระรอกน้อยที่ใช้หางของมันทาสีขาวให้กำแพง" ลงชื่อว่า "สลีปี้" เขาเรียกคาแรล (หนึ่งในตัวการ์ตูนคนแคระ) ว่า "สนีซี่" โปสการ์ดอีกแผ่นเขียว่า "คนแคระไม่มีเวลาช่วยฉัน แต่ส่งกระรอกน้อยหลายตัวและเหล่านกมา" --เขาอ้างอิงถึงเหล่าศิลปินผู้ช่วยเหลือเขา เขาไม่เคยกล่าวถึงแพสชั่นแปลกๆ --สโนว์ ไวต์ ถึงบรรดาเพื่อนๆ ที่ลอนดอน แต่ก็มีที่เขาเขียนว่า "แผ่นเสียงที่เป็นดนตรีของแคระและค่อนข้างเปิดมันบ่อยครั้ง" นอกจากนั้น เขายังบอกน้องชายว่า เขาเห็นผลงานปลาสเตอร์-สวนจำลอง-ในร้านค้าในลอนดอน




รูปทรงที่มีสีสันจัดจ้านให้ความสดใส ไม่ใช่แค่ความสนใจทางสายตา ซึ่งมงเดรนนำไปใช้ในภาพวาด เขายังหลงใหลรองเท้าผู้หญิง ยิ่งสีสว่างสดใส ยิ่งดี โจน และ โรบิน โอดีย์ ผู้อาศัยใกล้ๆ กลายเป็นเพื่อนของศิลปินมงเดรน โจน จำได้ว่า หลายๆ ย่ำเย็นกับชายแก่ที่รัก มงเดรนตกเป็นพยานที่งานแต่งงาน กรกฎาคม ปี 1940 ขณะที่ชีวิตส่วนตัวของมงเดรนเป็นที่น่าจับตามอง บ่อยครั้งเขาเริงร่ากับเหล่าเพื่อนหญิง ไปซื้อเสื้อสม็อกที่ใช้ใส่วาดรูปกับมาเรียม กาโบ (ภรรยาของนวม) และเต้นรำกับเพ็กกี้ การ์ดิเนอร์ และเวอร์จิเนีย เพพส์เนอร์ ในคลับ ลอนดอน แจ๊ส รู้กันโดยทั่วว่า เขารักดนตรีแจ๊สและการเต้นรำ ทว่า มาเรียม กาโบ บอกว่า "มงเดรนเต้นรำได้ยอดแย่ เวอร์จิเนียเกลียดและฉันก็เกลียด พวกเราต้องวนไปเต้นกับเขาอยู่ดี" ในขณะที่ถ้าเป็นเรื่องศิลปะ มงเดรนชอบถกเถียงกับเพื่อนชายมากกว่า เพื่อนชายที่สนิทที่สุดชื่อ จอห์น เซเซีล สตีเฟน อาศัยอยู่ใกล้ๆเขา ที่มอลล์ สตูดิโอส์ สตีเฟนสันผลักดันให้มงเดรนเข้าเมืองบ่อยครั้ง รวมทั้งพบกันเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับศิลปะ ดังนั้น สิ่งที่มงเดรนปฏิบัติบ่อยครั้งคือ การเยี่ยมชมสถานที่ในเมือง ดูงานนิทรรศการและพบเพื่อนๆ




ในช่วงเวลาสั้นๆ มงเดรนถูกขอให้แสดงผลงานในลอนดอน แกลลอรี แสดงผลงานวาดภาพบ่อยครั้ง รวมทั้งแกลลอรีจำเป็น (เปิดแกลลอรีเพื่อแสดงผลงานในช่วงสั้นๆ) ของ Guggenheim บนถนนคอร์ก แม้ว่าเขาประสบความสำเร็จ โจน โอดีย์ จำได้ว่า มงเดรนกลัวการรุกรานของนาซีเหนือสิ่งอื่นใด เขามีเหตุผล : งานของเขาสองชิ้นแสดงใน Hitler's Degenerate Art Exihibition ในปี 1937 แล้วมงเดรนก็ถูกโยนเข้าไปอยู่ในบัญชีดำ เขาเขียนถึงเพื่อนว่า "อันตรายที่น่ากลัวของพวกเราคืองาน บางทีนาซีอาจจะมา แล้วอะไรจะเกิดขึ้น?" เขาบอกสตีเฟนสันว่าเขา "หมายหัวตัวเองว่าเป็นนักโทษ" ทว่า เมื่อปี 1940 เยอรมนีรุกรานเนเธอแลนด์ เมืองที่สองพี่น้องอาศัย




แล้ววันหนึ่ง เรื่องร้ายๆ ก็ขับเขาออกจากลอนดอน ในฤดูร้อนปี 1940 มงเดรนดำเนินเรื่องขอวีซ่าอเมริกัน และเดินทางไปนิวยอร์ก ทว่า การดำเนินงานชะงัดงัน ในเวลาที่กองกำลังทหารเริ่มโจมตีลอนดอน ในวันที่ 7 กันยายน ลูกระเบิดก้อนหนึ่ง เกือบฆ่าเขา ขณะที่นั่งอยู่ในห้องนอน หลังจากที่ลอนดอนถูกโจมตีโดยระเบิดอย่างรุนแรงผ่านไปหลายอาทิตย์ โรบิน โอดีย์ ส่งเขาไปที่ลิเวอร์พูล ที่ที่ซึ่งมงเดรนสามารถลงเรือล่องข้ามมหาสมุทรเพื่อสร้างชีวิตใหม่ในนิวยอร์ก ดูเหมือนว่า เขายังคงทำงานวาดภาพอย่างต่อเนื่อง รับแรงบันดาลใจจากเมืองที่เปี่ยมไปด้วยพลังงาน ผลงานที่สร้างชื่อเสียงที่สุดคือ Broadway Boogie-Woogie (1942-1943) สร้างจากงานที่เขาริเริ่มที่ลอนดอน



วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผู้จุดชนวนศิลปะในนิวยอร์ก






Leo and His Circle : The Life of Leo Castelli


โดย แอนนี โคเฮน-โซลาล


แปลโดย มาร์ก โพลิสซอตติ กับผู้ประพันธ์


540 หน้า


สำนักพิมพ์ Alfred A. Knopf




ตามนิยาม--ดีลเลอร์งานศิลปะคือ งานขายชิ้นงานศิลปะ เพื่อหาเงิน และมีส่วนร่วมในหน้าประวัติศาสตร์บนหนังสือรวบรวมงานศิลปะเพียงแค่ข้อความด้านล่างหน้าหนังสือ (Footnotes)




ลีโอ คาสเตลลี ผู้ซึ่งเปิดแกลอรี่ในนิวยอร์ก ในปี 1957 และกลายเป็นผู้นำดีลเลอร์งานศิลปะป๊อปอาร์ตตั้งแต่ยุคแรกเริ่มศิลปะแบบมินิมัลลิสต์ บุคลิกของคาสเตลลีสมควรแก่การจดจำ เป็นชาวต่างชาติผู้สุขุม เคยทำงานนายธนาคารในยุโรปก่อนยุคสงครามโลก เชี่ยวชาญถึง 5 ภาษา สร้างผลงานโดดเด่น เช่น ดีลเลอร์งานกระป๋องซุปของวอร์ฮอล รูปปั้นหลอดตะกั่วริชาร์ด เซอร์รา ในโรมาเนีย ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่โดดเด่น ความสำเร็จของเขาเป็นความสำเร็จของศิลปะอเมริกัน ซึ่งทั่วโลกยอมรับ ในยุคที่ยุโรปคิดว่า "เมด อิน ยูเอสเอ" เป็นฉลากที่ดีที่สุดของเครื่องซักผ้าเท่านั้น




สิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครรู้ ภายใต้หน้ากากรอยยิ้ม คนเมืองที่ดูเหมือนจะง่ายๆ สบายๆ แอนนี่ โคเฮน-โซลาล เขียนในหนังสือ "Leo and His Circle" อย่างเข้าอกเข้าใจ คาสเตลลีอพยพมาจากฝรั่งเศสตั้งแต่ทหารนาซียังไม่ชักแถวเข้ามา ทว่าบิดามารดาก็ไม่ได้ตามมาด้วย พวกเขาตายอย่างปวดใจในบูดาเปสต์ โดยถูกกดดันโดยพรรคแอโรว์ ครอสส์ ฟาสต์ซิสของอิตาลี เรื่องราวชีวิตของคาสเตลลี บ่งบอกถึงตำนานศิลปะโลกเกี่ยวกับชายอิตาเลียนผู้สง่าผ่าเผยในชุดสูทตัดเย็บประณีต ผู้ซึ่งมองภาพภายนอกแลคล้ายเจ้าชายน้อยที่ยืนเด่นในแกลอรี่ ต้อนรับแขกเหรื่อด้วยรอยจูบบนแก้มทั้งสองข้าง และบรรยายชิ้นงานอย่างรู้และเข้าใจ ทว่าก่อนหน้านั้น เขาถูกโกยต้อนจากประวัติศาสตร์อันโหดร้าย การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในยุโรป แล้วจึงมาตั้งรกรากในอเมริกา โดนเฉพาะที่นิวยอร์ก




คาสเตลลีเกลียดการถกเถียงเกี่ยวกับอดีตหรือการยอมรับศาสนาของเขา เขาเริ่มชีวิตในปี 1907 โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่า "Leo Krausz" ลูกชายนายธนาคารชาวฮังกาเรียนผู้ร่ำรวย ความเศร้าโศก เมืองที่เขาถือกำเนิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออสโทร-ฮังกาเรียน ทว่าถูกครอบครองพื้นที่โดยอิตาลีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยการเกิดขึ้นของลัทธิฟาสต์ซีส พลเมืองถูกเรียกร้องให้ใช้นามสกุลอิตาเลียน ดังนั้น นามสกุล "Krausz" จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น "Castelli" (เป็นนามสกุลของมารดาช่วงก่อนแต่งงาน)เขาเรียนู้ประสบการณ์ความตื่นกลัว การถูกเปลี่ยนแปลงบุคลิกให้เป็นแบบเดียวเหมือนกันทุกคน อาณาเขตถูกทำลายชั่วข้ามคืน แม้แต่ชื่อยังถูกเปลี่ยน ช่วงปี 1930 สิ่งหนึ่งที่เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้คือความเป็นคนยิวของเขา ผู้คนถูกกวาดรวมไว้ด้วยกัน ภายใต้ภาวะครอบงำของความชั่วร้าย ด้วยเหตุผลเพื่อการทำลายเผ่าพันธุ์ เขาเป็นหนึ่งในคนโลกเก่าที่ค้นหาคำตอบในโลกใหม่ ในที่สุดเขาก็ได้เป็นสมาชิกพลเมืองแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งป็นเวลาที่ชาวอเมริกันปฏิเสธการยอมรับศิลปะในยุโรป นิวยอร์กหลีกเลี่ยงการซ้ำรอยปารีส ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของศิลปะโลก คาสเตลลีเปิดแกลลอรีแรก แสดงผลงานภาพวาดกระป๋องโค้กและการ์ตูนผู้หญิงของลิซ มาริลินและเอลวิส ด้วยสีสันสดใส เข้าถึงง่าย โป๊นิดหน่อย ทว่าขำขันแบบเด็กๆ ซึ่งได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า พัฒนามาจากสิ่งที่คาสเตลลีชอบ ได้รับอิทธิพลมาจากบ้านเกิด




ในหนังสือเล่มนี้คาสเตลลีปรากฎโฉมในฐานะดีเลอร์สภาพบุรุษผู้เข้าใจคุณค่างานศิลปะของศิลปิน ไม่พยายามตั้งใจขายของเพียงอย่างเดียว เขาเคารพความสำเร็จของศิลปินทุกคน อย่างน้อยเขาก็จัดการกับศิลปินหัวยุ่งอย่างมืออาชีพ ด้วยข้อเสนอที่เขามอบให้ได้สมบูรณ์แบบ เขาให้โอกาสเจสเปอร์ จอห์นส และแฟรงค์ สเตลล่า แสดโชว์เดี่ยวครั้งแรกของพวกเขา คาสเตลลีเป็นผู้มีสายตายอดเยี่ยมอย่างนั้นหรือ? อาจจะไม่นะ ทว่าเขามีเซ้นส์ที่ดี ยอมรับฟังผู้คนที่รู้มากกว่าเขา และโชคดีที่ถูกส่งไปที่บูชาเรสต์ในฐานะตัวแทนประกันหนุ่ม ในปี 1933 เขาพบกับอิเลียนา ชาพิล่า ลูกจ้างหญิงสาวสะพรั่งวัย 17 ปี ชาวโรมาเนีย ผู้ซึ่งมีรสนิยมและความคิดที่เข้าใจผู้คน กลมกลืนกับกลุ่มคนได้อย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นคนที่เต็มที่สุดๆ เขาแต่งงานกับหล่อนในปีนั้น แล้วในที่สุด หล่อนก็กลายเป็นดีลเลอร์งานศิลปะผู้มีชื่อเสียงอีกคน โดยใช้ชื่อว่า "อิเลียนา ซันนาเบนด์"




คาสเตลลีเป็นหนี้มหาศาล โดยมีบิดาบุญธรรมผู้ร่ำรวยเป็นเจ้าหนี้ ให้หยิบยืมเงินเพื่อเปิดแกลลอรีแรกในปารีส และผลักดันให้คาสเตลลีมานิวยอร์ก การมาถึงของเขาในปี 1941 คาสเตลลีใฝ่คว้าหาโอกาสที่ดี แม้ในระยะแรกชีวิตของเขาดูเหมือนคนขี้เกียจและไม่มีงานทำ เขาอาศัยอยู่บนชั้นสูงสุดในบ้านทาวน์เฮ้าส์หรูของบิดาบุญธรรม ที่ตะวันออก 4 ถนนที่ 77 ทำงานบริษัทเสื้อผ้าของชาวโรมาเนียนานนับทศวรรษ กระทั่งอายุเกือย 50 ปี จึงเปิดแกลลอรีแรกในห้องนั่งเล่นของเขา ผู้ชมจำเป็นต้องปีนกระได 4 ชั้น เพื่อเข้าชมนิทรรศการแรก ซึ่งจะพบผลงานชิ้นใหญ่ยักษ์สองชิ้นแขวนอยู่ตรงทางเข้า ชิ้นแรกคือ งานภาพวาดจากหยดสีของแจ็กสัน พอลลอค และชิ้นที่สองเป็นของจิตกรชาวฝรั่งเศสชื่อโรเบิร์ต ดีโลเนย์ ราวกับบอกว่า นี่คือการต่อสู้ทางวัฒนธรรมระหว่างอเมริกันและฝรั่งแศส ซึ่งคาสเตลลีคือผู้ชนะในการแสดงงานครั้งนี้




หลังจากชีวิตแต่งงานล้มเหลว เหตุเพราะว่า เขาไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อระบบผัวเดียวเมียเดียว (ดั่งเช่นศิลปินหลายคนขณะนั้น) คาสเตลลีเจ้าชู้ หลังการหย่าขาด เขาก็มีภรรยาคนที่สองโดยไม่ทันตั้งตัว และแต่งงานครั้งที่สาม ทว่า ยังติดต่อกับภรรยาคนแรกต่อเนื่องและลับๆ แกลลอรีในโซโห(ออฟฟิศเล็กๆ) เปิดในปี 1971 บนชั้นสอง ที่ 420 เวสต์ บรอดเวย์ ชั้นล่างเป็นแกลลอรีของซันนาเบนด์ (ภรรยาคนแรก)




สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือ การประนีประนอมระหว่างการใช้การเขียนที่ระมัดระวังและให้ข้อมูลที่ไม่มีผู้คนสนใจเพื่อให้ข้อเท็จจริงไม่หนักเกินไป กลวิธีพูดเจื้อยแจ้วร่ายยาว เจาะลึกแค่สั้นๆ ทว่าก็มีข้อผิดพลาดปรากฎมากมาย เช่น สะกดชื่อผิด เขียนประวัติชีวิตจุกจิกมากเกิน ยิ่งไปกว่านั้นผู้เขียนยังไม่สัมผัสเนื้อหาอาชีพให้ลึก ทว่า แค่พยายามเชื่อมโยงคนรอบข้างของคาสเตลลี แล้วก็เอ่ยถึงพวกเขาอย่างละนิดอย่างละหน่อย




ยิ่งเมื่อถูกแปลจากภาษาฝรั่งเศส...แปลจากร้อยแก้วเนื้อหนัก อัดแน่นด้วยข้อเท็จจริงของช่วงเวลาแห่งความผิดพลาดมืดหม่น โคเฮน-โซลาล ผู้ซึ่งเขียนอัตชีวประวัติให้ชอง ปอล ซาร์ต อันโด่งดัง พิมพ์เมื่อปี 1987 เธอเป็นเพื่อนกับคาสเตลลีระหว่างที่ทำงานให้ความช่วยเหลือ-สนับสนุนด้านวัฒนธรรมที่สถานทูตฝรั่งเศสในนิวยอร์ก อันอยู่ในช่วงเหตุการณ์สำคัญคือทางรัฐบาลคว่ำบาตรผู้ทรงภูมิรู้สายฝรั่งเศส ทว่าเธอก็ไม่ได้เขียนหนังสือต้องห้ามอันว่าด้วยเรื่องดีลเลอร์งานศิลปะของชาวอเมริกัน คนฝรั่งเศสขึ้นชื่อเรื่องกล่าวหาคนอเมริกัน หนังสือเล่มนี้ทบทวนทัศนคตินั้นเสียใหม่ โดยใช้ชีวิตอันโลดโผนของลีโอ คาสเตลลีแสดงนำ