วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผู้จุดชนวนศิลปะในนิวยอร์ก






Leo and His Circle : The Life of Leo Castelli


โดย แอนนี โคเฮน-โซลาล


แปลโดย มาร์ก โพลิสซอตติ กับผู้ประพันธ์


540 หน้า


สำนักพิมพ์ Alfred A. Knopf




ตามนิยาม--ดีลเลอร์งานศิลปะคือ งานขายชิ้นงานศิลปะ เพื่อหาเงิน และมีส่วนร่วมในหน้าประวัติศาสตร์บนหนังสือรวบรวมงานศิลปะเพียงแค่ข้อความด้านล่างหน้าหนังสือ (Footnotes)




ลีโอ คาสเตลลี ผู้ซึ่งเปิดแกลอรี่ในนิวยอร์ก ในปี 1957 และกลายเป็นผู้นำดีลเลอร์งานศิลปะป๊อปอาร์ตตั้งแต่ยุคแรกเริ่มศิลปะแบบมินิมัลลิสต์ บุคลิกของคาสเตลลีสมควรแก่การจดจำ เป็นชาวต่างชาติผู้สุขุม เคยทำงานนายธนาคารในยุโรปก่อนยุคสงครามโลก เชี่ยวชาญถึง 5 ภาษา สร้างผลงานโดดเด่น เช่น ดีลเลอร์งานกระป๋องซุปของวอร์ฮอล รูปปั้นหลอดตะกั่วริชาร์ด เซอร์รา ในโรมาเนีย ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่โดดเด่น ความสำเร็จของเขาเป็นความสำเร็จของศิลปะอเมริกัน ซึ่งทั่วโลกยอมรับ ในยุคที่ยุโรปคิดว่า "เมด อิน ยูเอสเอ" เป็นฉลากที่ดีที่สุดของเครื่องซักผ้าเท่านั้น




สิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครรู้ ภายใต้หน้ากากรอยยิ้ม คนเมืองที่ดูเหมือนจะง่ายๆ สบายๆ แอนนี่ โคเฮน-โซลาล เขียนในหนังสือ "Leo and His Circle" อย่างเข้าอกเข้าใจ คาสเตลลีอพยพมาจากฝรั่งเศสตั้งแต่ทหารนาซียังไม่ชักแถวเข้ามา ทว่าบิดามารดาก็ไม่ได้ตามมาด้วย พวกเขาตายอย่างปวดใจในบูดาเปสต์ โดยถูกกดดันโดยพรรคแอโรว์ ครอสส์ ฟาสต์ซิสของอิตาลี เรื่องราวชีวิตของคาสเตลลี บ่งบอกถึงตำนานศิลปะโลกเกี่ยวกับชายอิตาเลียนผู้สง่าผ่าเผยในชุดสูทตัดเย็บประณีต ผู้ซึ่งมองภาพภายนอกแลคล้ายเจ้าชายน้อยที่ยืนเด่นในแกลอรี่ ต้อนรับแขกเหรื่อด้วยรอยจูบบนแก้มทั้งสองข้าง และบรรยายชิ้นงานอย่างรู้และเข้าใจ ทว่าก่อนหน้านั้น เขาถูกโกยต้อนจากประวัติศาสตร์อันโหดร้าย การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในยุโรป แล้วจึงมาตั้งรกรากในอเมริกา โดนเฉพาะที่นิวยอร์ก




คาสเตลลีเกลียดการถกเถียงเกี่ยวกับอดีตหรือการยอมรับศาสนาของเขา เขาเริ่มชีวิตในปี 1907 โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่า "Leo Krausz" ลูกชายนายธนาคารชาวฮังกาเรียนผู้ร่ำรวย ความเศร้าโศก เมืองที่เขาถือกำเนิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออสโทร-ฮังกาเรียน ทว่าถูกครอบครองพื้นที่โดยอิตาลีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยการเกิดขึ้นของลัทธิฟาสต์ซีส พลเมืองถูกเรียกร้องให้ใช้นามสกุลอิตาเลียน ดังนั้น นามสกุล "Krausz" จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น "Castelli" (เป็นนามสกุลของมารดาช่วงก่อนแต่งงาน)เขาเรียนู้ประสบการณ์ความตื่นกลัว การถูกเปลี่ยนแปลงบุคลิกให้เป็นแบบเดียวเหมือนกันทุกคน อาณาเขตถูกทำลายชั่วข้ามคืน แม้แต่ชื่อยังถูกเปลี่ยน ช่วงปี 1930 สิ่งหนึ่งที่เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้คือความเป็นคนยิวของเขา ผู้คนถูกกวาดรวมไว้ด้วยกัน ภายใต้ภาวะครอบงำของความชั่วร้าย ด้วยเหตุผลเพื่อการทำลายเผ่าพันธุ์ เขาเป็นหนึ่งในคนโลกเก่าที่ค้นหาคำตอบในโลกใหม่ ในที่สุดเขาก็ได้เป็นสมาชิกพลเมืองแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งป็นเวลาที่ชาวอเมริกันปฏิเสธการยอมรับศิลปะในยุโรป นิวยอร์กหลีกเลี่ยงการซ้ำรอยปารีส ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของศิลปะโลก คาสเตลลีเปิดแกลลอรีแรก แสดงผลงานภาพวาดกระป๋องโค้กและการ์ตูนผู้หญิงของลิซ มาริลินและเอลวิส ด้วยสีสันสดใส เข้าถึงง่าย โป๊นิดหน่อย ทว่าขำขันแบบเด็กๆ ซึ่งได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า พัฒนามาจากสิ่งที่คาสเตลลีชอบ ได้รับอิทธิพลมาจากบ้านเกิด




ในหนังสือเล่มนี้คาสเตลลีปรากฎโฉมในฐานะดีเลอร์สภาพบุรุษผู้เข้าใจคุณค่างานศิลปะของศิลปิน ไม่พยายามตั้งใจขายของเพียงอย่างเดียว เขาเคารพความสำเร็จของศิลปินทุกคน อย่างน้อยเขาก็จัดการกับศิลปินหัวยุ่งอย่างมืออาชีพ ด้วยข้อเสนอที่เขามอบให้ได้สมบูรณ์แบบ เขาให้โอกาสเจสเปอร์ จอห์นส และแฟรงค์ สเตลล่า แสดโชว์เดี่ยวครั้งแรกของพวกเขา คาสเตลลีเป็นผู้มีสายตายอดเยี่ยมอย่างนั้นหรือ? อาจจะไม่นะ ทว่าเขามีเซ้นส์ที่ดี ยอมรับฟังผู้คนที่รู้มากกว่าเขา และโชคดีที่ถูกส่งไปที่บูชาเรสต์ในฐานะตัวแทนประกันหนุ่ม ในปี 1933 เขาพบกับอิเลียนา ชาพิล่า ลูกจ้างหญิงสาวสะพรั่งวัย 17 ปี ชาวโรมาเนีย ผู้ซึ่งมีรสนิยมและความคิดที่เข้าใจผู้คน กลมกลืนกับกลุ่มคนได้อย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นคนที่เต็มที่สุดๆ เขาแต่งงานกับหล่อนในปีนั้น แล้วในที่สุด หล่อนก็กลายเป็นดีลเลอร์งานศิลปะผู้มีชื่อเสียงอีกคน โดยใช้ชื่อว่า "อิเลียนา ซันนาเบนด์"




คาสเตลลีเป็นหนี้มหาศาล โดยมีบิดาบุญธรรมผู้ร่ำรวยเป็นเจ้าหนี้ ให้หยิบยืมเงินเพื่อเปิดแกลลอรีแรกในปารีส และผลักดันให้คาสเตลลีมานิวยอร์ก การมาถึงของเขาในปี 1941 คาสเตลลีใฝ่คว้าหาโอกาสที่ดี แม้ในระยะแรกชีวิตของเขาดูเหมือนคนขี้เกียจและไม่มีงานทำ เขาอาศัยอยู่บนชั้นสูงสุดในบ้านทาวน์เฮ้าส์หรูของบิดาบุญธรรม ที่ตะวันออก 4 ถนนที่ 77 ทำงานบริษัทเสื้อผ้าของชาวโรมาเนียนานนับทศวรรษ กระทั่งอายุเกือย 50 ปี จึงเปิดแกลลอรีแรกในห้องนั่งเล่นของเขา ผู้ชมจำเป็นต้องปีนกระได 4 ชั้น เพื่อเข้าชมนิทรรศการแรก ซึ่งจะพบผลงานชิ้นใหญ่ยักษ์สองชิ้นแขวนอยู่ตรงทางเข้า ชิ้นแรกคือ งานภาพวาดจากหยดสีของแจ็กสัน พอลลอค และชิ้นที่สองเป็นของจิตกรชาวฝรั่งเศสชื่อโรเบิร์ต ดีโลเนย์ ราวกับบอกว่า นี่คือการต่อสู้ทางวัฒนธรรมระหว่างอเมริกันและฝรั่งแศส ซึ่งคาสเตลลีคือผู้ชนะในการแสดงงานครั้งนี้




หลังจากชีวิตแต่งงานล้มเหลว เหตุเพราะว่า เขาไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อระบบผัวเดียวเมียเดียว (ดั่งเช่นศิลปินหลายคนขณะนั้น) คาสเตลลีเจ้าชู้ หลังการหย่าขาด เขาก็มีภรรยาคนที่สองโดยไม่ทันตั้งตัว และแต่งงานครั้งที่สาม ทว่า ยังติดต่อกับภรรยาคนแรกต่อเนื่องและลับๆ แกลลอรีในโซโห(ออฟฟิศเล็กๆ) เปิดในปี 1971 บนชั้นสอง ที่ 420 เวสต์ บรอดเวย์ ชั้นล่างเป็นแกลลอรีของซันนาเบนด์ (ภรรยาคนแรก)




สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือ การประนีประนอมระหว่างการใช้การเขียนที่ระมัดระวังและให้ข้อมูลที่ไม่มีผู้คนสนใจเพื่อให้ข้อเท็จจริงไม่หนักเกินไป กลวิธีพูดเจื้อยแจ้วร่ายยาว เจาะลึกแค่สั้นๆ ทว่าก็มีข้อผิดพลาดปรากฎมากมาย เช่น สะกดชื่อผิด เขียนประวัติชีวิตจุกจิกมากเกิน ยิ่งไปกว่านั้นผู้เขียนยังไม่สัมผัสเนื้อหาอาชีพให้ลึก ทว่า แค่พยายามเชื่อมโยงคนรอบข้างของคาสเตลลี แล้วก็เอ่ยถึงพวกเขาอย่างละนิดอย่างละหน่อย




ยิ่งเมื่อถูกแปลจากภาษาฝรั่งเศส...แปลจากร้อยแก้วเนื้อหนัก อัดแน่นด้วยข้อเท็จจริงของช่วงเวลาแห่งความผิดพลาดมืดหม่น โคเฮน-โซลาล ผู้ซึ่งเขียนอัตชีวประวัติให้ชอง ปอล ซาร์ต อันโด่งดัง พิมพ์เมื่อปี 1987 เธอเป็นเพื่อนกับคาสเตลลีระหว่างที่ทำงานให้ความช่วยเหลือ-สนับสนุนด้านวัฒนธรรมที่สถานทูตฝรั่งเศสในนิวยอร์ก อันอยู่ในช่วงเหตุการณ์สำคัญคือทางรัฐบาลคว่ำบาตรผู้ทรงภูมิรู้สายฝรั่งเศส ทว่าเธอก็ไม่ได้เขียนหนังสือต้องห้ามอันว่าด้วยเรื่องดีลเลอร์งานศิลปะของชาวอเมริกัน คนฝรั่งเศสขึ้นชื่อเรื่องกล่าวหาคนอเมริกัน หนังสือเล่มนี้ทบทวนทัศนคตินั้นเสียใหม่ โดยใช้ชีวิตอันโลดโผนของลีโอ คาสเตลลีแสดงนำ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น