หลังจากที่อัศวินโรล็องด์ บาร์ต โจมตีผลงานวิจารณ์ที่ใช้อัตชีวประวัติเป็นพื้นฐาน--อา ลา แซงต์ เบิฟ (ในภาษาฝรั่งเศส) หรือ แลนสัน (ในภาษาอังกฤษ) บทความสำคัญแห่งวงการวิชาการฝรั่งเศสในยุคซิกส์ตี้ แน่นอนว่า มันเป็นผลงานย้อนแย้งของบทความ--ด้วยการฆ่าสัญลักษณ์ความเป็นพ่อ "ผู้ประพันธ์-พระเจ้า" (with its symbolic of the paternal "Author-God") ตามตำราจิตวิทยา แจ้งว่า บาร์ตเสียบิดาตั้งแต่ก่อนวันครบรอบวันเกิดขวบปีแรก ธีมที่ว่าเรื่อง "การตายของนักประพันธ์" เริ่มปรากฎสิ่งแตกต่างที่นำความหมายเพิ่มเติมในส่วนความเข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อนานมาแล้ว เมื่อคุณใคร่ครวญว่า อาชีพนักวิจารณ์ของบาร์ต เป็นกิจกรรมการโน้มนำผู้คนให้ออกจากสิ่งที่เป็นอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเขียนนิยายที่พวกเขาฝันถึง
ในปี 2002 ที่ปอมปิดู เซ็นเตอร์ ในปารีส อุทิศนิทรรศการหลักให้แก่โรล็องต์ บาร์ต ผู้ซึ่งไม่ใช่ศิลปิน ไม่ใช่นักปรัชญา ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนนิยาย ทว่าเขาคือนักวิจารณ์ นิทรรศการชื่อว่า "Theory wars" -เป็นการฉีกวรรณกรรมในสองฝั่งแอตแลนติกออกจากกัน- มันจบอย่างตรงประเด็น งานถูกใช้ให้เป็นเครื่องเตือนแห่งเวลา ระหว่างเวลาของกลุ่มนักโครงสร้างนิยมและพวกหลังโครงสร้างนิยม--ทฤษฎีที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง เพราะมันใหม่กว่าและมีประสิทธิภาพ เช่นงานของ ชอง-ปอล ซาร์ต ในฐานะไอคอนของผู้ทรงภูมิปัญญาคนแรกของฝรั่งเศส (France's premier intellectual icons) ซึ่งคนกลุ่มนี้รวบรวมนักปราชญ์ นักมนุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์และนักจิตวิเคราะห์คนสำคัญ เช่น ชาร์ก ลากอง มิเชล ฟูโกต์ กิลส์ เดอลูซ จูเลีย คริสเตอว่า ฯลฯ ทว่า ชิ้นงานที่ปฏิวัติวงการภูมิปัญญากลับเป็นงานวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย
การวิจารณ์แบบใหม่ (La nouvelle critique) คือรสชาติปาก เหมือนนักวิจารณ์อาหาร แม้ว่า มันอธิบายได้ยากกว่า ว่ากันว่า บาร์ตเป็นทั้งนักวิจารณ์และนักคิด ผู้ซึ่งใช้เวลาอยู่ที่บ้าน อยู่วิทยาลัยแห่งฝรั่งเศสที่ดีกว่าคนทั่วไปได้เรียน อยู่ตามไนต์คลับทันสมัย ในสัดส่วนเวลาที่เท่าๆ กัน บ่อยครั้งงานของเขากลายเป็นเบสต์ เซลเลอร์ แทนที่จะแขวนไว้บนหิ้ง
บทความของบาร์ต เป็นฟีเจอร์แรกในแอน อเมริกัน ชูเนล (an American journal) ในปี 1967 แรกเริ่มเป็นงานแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษด้วยสำนึกเวลาตามหลักประวัติศาสตร์อย่างดีเยี่ยม มันปรากฎในบ้านเกิดในปี 1968 ในบริบทเสมือนการเดินจราจลที่มีนักศึกษาประท้วง ซึ่งเป็นหนึ่งในบทความที่ถูกรวบรวมจากบทความมากมาย โดยข้อเขียนถูกสำเนาและแจกจ่ายไปในหลากหลายมาวิทยาลัยทั่วโลก และกลายเป็นบทความต้องห้ามในหลายต่อหลายสถานศึกษา และในฝรั่งเศสเองก็ถือเป็นบทความต้องห้าม บางทีอาจมากกว่าที่อื่น ด้วยระบบการควบคุมของสังคมที่นำไปสู่เรื่องศิลปะและวรรณกรรมที่ถือว่าถูกแทนที่ฐานะของศาสนา นิตเช่ประกาศว่า "พระเจ้าตายแล้ว" (death of God) แล้วเพียงแค่คุณพิมพ์คำว่า "Author-God" ในกูเกิล คุณก็จะเข้าสู่โลกของโรล็องต์ บาร์ต
จุดเริ่มต้นของเขาเริ่มจากการยกประโยคจาก Serrasine (1830) นวนิยายที่คนรู้จักไม่กว้างขวางของบัลซัค เกี่ยวกับศิลปินผู้ตกหลุมรักชายคนหนึ่งผู้เชื่อว่าตนเป็นผู้หญิง (รู้กันว่าบาร์ตเป็นเกย์) บาร์ตนำเรื่องเล่าการผสมผสานเพศสภาวะ (gender-bending) ของลักษณะเฉพาะตัว (identity) ที่ถูกทำให้ผิดพลาด เข้าใจผิด ซึ่งเขาศึกษามันอย่างยาวเยื้อยใน S/Z (1970) เขาดึงคู่ขนานระหว่างความคลุมเครือของความรู้สึกของเซอร์ราซีนและลักษณะเฉพาะอันคลุมเคลือของผู้พูด ผู้ซึ่งบรรยายชายหนุ่มในฐานะแกนกลางความเป็นผู้หญิงอย่างเสียดสี มันคือการทำให้คนอื่นเข้าใจผิดใช่ไหม เป็นคาแร๊คเตอร์ของนิยายที่ว่าด้วยอุปสรรคแห่งรัก? ผู้เล่าหรือเปล่า บัลซัคผู้เป็นนักเขียนใช่ไหม? บัลซัคเป็นผู้ชายหรือเปล่า? มีความเป็นไปได้ในหลายแง่มุม บทวิจารณ์ดึงข้อสรุปว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะชี้ชัดว่า สาเหตุมาจากใคร-อะไร เขาอธิบายวรรณกรรมในฐานะพื้นที่ว่าง "ที่ที่ซึ่งบุคลิกเพาะตัวทั้งหมดสูญสลาย เริ่มต้นด้วยลักษณะเฉพาะของเรื่องที่เขียน" ความตายของนักประพันธ์ แสดงให้เห็นการเกิดของวรรณกรรม ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า "ด้วยนวตกรรมความคิดนี้ นักประพันธ์ไม่สามารถสร้างผลงานในแบบฉบับเฉพาะตัวได้อีกแล้ว" ("the invention of thisvoice, to which we can not assign a specific origin")
จริงๆ แล้ว นักเขียนสมัยใหม่ บาร์ตเรียกพวกเขาว่า "คนเขียนสคริปต์" พวกเขาเป็นเพียงนักสร้างความบันเทิงผู้ลอกเลียนคำพูดหรือการกระทำของคนมีชื่อเสียง โดยนำสิ่งที่เคยเขียนไว้แล้วกลับมาเชื่อมโยงกันอีกครั้ง "มันเป็นเพียงสิ่งที่พูดบอก ไม่ใช่การประพันธ์" งานฟิกชั่นทั้งหลายแหล่ป็นงานเขียนเก่าที่นำมาเขียนใหม่ และขาดสิ่งที่เรียกว่า "ความหมายแห่งนักบวชนักบุญเดี่ยวๆ ('สาร' ของ the Author-God)" มันหมายความว่า ไม่มีอะไรเป็นสิ่งดั้งเดิมอีกแล้ว ทว่า มีแต่ "จุดหมายปลายทาง" การเกิดของนักอ่านอาจเป็นค่าราคาความตายของนักประพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น